วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556

ธนบัตรต่างประเทศ


ธนบัตรจีนด้านหน้า

ธนบัตรจีนด้านหลัง

ธนบัตรลาวด้านหน้า 

ธนบัตรลาวด้านหลัง

ธนบัตรฮ่องกงด้านหน้า อันซ้ายออกโดย HSBC
อันขวาออกโดย BANK OF CHINA
 

ธนบัตรฮ่องกงด้านหลัง อันซ้ายออกโดย HSBC
อันขวาออกโดย BANK OF CHINA

ธนบัตรสิงคโปร์ ด้านหน้า

ธนบัตรสิงคโปร์ ด้านหลัง



ธนบัตรที่ระลึก

เป็นเรื่องราวอันเกี่ยวเนื่องกับการราชาภิเษกสมรส
และการบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน 
และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ 

ภาพประธานด้านหลัง 

เชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขณะทรงโบกพระหัตถ์
และ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙
ตอนล่างของธนบัตรมีข้อความ "ราชาภิเษกสมรสครบ ๖๐ ปี ๒๘ เมษายน ๒๕๕๓" และ 
"บรมราชาภิเษกครบ ๖๐ ปี ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๓"

ภาพประกอบด้านหลังธนบัตร เชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหลั่งทักษิโณทกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ประดับด้วยลายดอกพิกุล 6 ดอก
สื่อความหมายถึง การบรมราชาภิเษกครบ ๖๐ ปี โดยในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงโปรยดอกพิกุลเงิน ดอกพิกุลทอง พระราชทานแก่พราหมณ์และพระบรมวงศา
นุวงศ์ตามคติความเชื่อที่ว่าพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประธานในพระราชพิธีนั้น
เปรียบเสมือนสมมติเทพที่อุบัติลงมาจากสวรรค์ บริเวณพระราชมนเทียรจึงถือว่าเป็นดุจสวรรค์
ต้นพิกุลเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งในอุทยานบนสวรรค์
ดังนั้น ในระหว่างการประกอบพระราชพิธี
จึงมีการโปรยดอกพิกุลซึ่งเปรียบเหมือนดอกไม้สวรรค์
และเป็นดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งสมบูรณ์ 
เพื่อเป็นการให้สิ่งที่เป็นมงคลในพระราชพิธี
เบื้องซ้ายมุมบน เชิญพระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ ๙ พิมพ์บนธงชาติไทย 
สื่อความหมายถึง ความเป็นชาติไทย ซึ่งประกอบด้วย สถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
เบื้องซ้ายมุมล่าง เชิญพระปฐมบรมราชโองการ

"เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"

ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถือเป็นพระราชปณิธานอันแน่วแน่และสำคัญยิ่ง
ดังที่ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจปกครอง
ราชอาณาจักรไทยโดยทศพิธราชธรรมจริยาดังพระปฐมบรมราชโองการที่พระราชทานไว้
เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓

ขนาด ๗.๒๐ x ๑๕.๐๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๓
จ่ายแลก วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓


ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร 

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕


ภาพประธานด้านหลัง พระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
ขนาด ๗.๒๐ x ๑๕.๐๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๕
จ่ายแลก วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕


ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕

ภาพประธานด้านหน้า

พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันคู่กับพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเป็นภาพประธาน มีลายน้ำอักษรพระนามาภิไธย ส.ก. ภายใต้พระมหามงกุฎ โดยอักษร” 
มีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ มองเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้านเมื่อยกธนบัตรขึ้นส่องดูกับแสงสว่าง



ขนาด ๘ x ๑๖.๒๐ เซนติเมตร

วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๕
จ่ายแลก วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๕

ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕

ภาพประธานด้านหลัง



พระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นภาพประธาน
 โดยมีภาพพระราชกรณียกิจด้านต่างๆ เป็นภาพประกอบ ในเนื้อกระดาษฝังแถบสีฟ้าซ่อนไว้ตามด้านกว้างของธนบัตร
 โดยมีบางส่วนปรากฏให้เห็นเป็นระยะที่ด้านหลังธนบัตร 
ภายในแถบสีฟ้ามีตัวเลขอารบิก “80” ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นรูปดอกกุหลาบเมื่อพลิกธนบัตรไปมา


ขนาด ๘ x ๑๖.๒๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๕
จ่ายแลก วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๕

ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติ
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐

ภาพประธานด้านหน้า


เบื้องซ้ายมีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นภาพประธาน

ตอนกลางของธนบัตรชนิดราคา ๑ บาท มีภาพการเสด็จออกสีหบัญชร ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท 

เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในปี ๒๔๙๓ 

ชนิดราคา ๕ บาท มีภาพการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค
ในพระราชพิธีมหามงคลเนื่องในวโรกาสที่เจริญพระชนมพรรษาครบ ๓ รอบพระนักษัตร ในปี ๒๕๐๖
และชนิดราคา ๑๐ บาท มีภาพการเสด็จออกมหาสมาคม ในงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี 
ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ในปี ๒๕๔๙ เรียงตามลำดับ

ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติ
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐

ภาพประธานด้านหลัง

เป็นภาพลำดับเรื่องราวอันเกี่ยวเนื่องกับพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 

ตั้งแต่เมื่อทรงพระเยาว์จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ภายในโครงตัวเลขไทย " ๙ "


บัตรธนาคารเนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาหกสิบบริบูรณ์ 

๕ ธันวาคม ๒๕๓๐

ภาพประธานด้านหน้า

พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ 
ทรงฉลองพระองค์ครุย ประทับเหนือ พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์


ขนาด ๑๕.๙ x ๑๕.๙ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๓๐
จ่ายแลก วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๓๐
บัตรธนาคารเนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาหกสิบบริบูรณ์ 
๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ 

ภาพประธานด้านหลัง

พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประทับท่ามกลางพสกนิกร
ขนาด ๑๕.๙ x ๑๕.๙ เซนติเมตร

วันประกาศออกใช้ ลงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๓๐
จ่ายแลก วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๓๐



ธนบัตรชนิดราคา 50 บาทแบบพิเศษ เนื่องในโอกาส ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี จำนวน 100 ล้านฉบับ
 เป็นธนบัตรพอลิเมอร์ ลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับธนบัตรแบบ 13 ในชนิดราคาเดียวกัน ต่างกันที่มีตราสัญญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีแทนลายไทย บริเวณลายน้ำเดิมมีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์แบบใหม่ 
มองเห็นได้เมื่อยกธนบัตรขึ้นดูกับแสงสว่างและล้อมด้วยพื้นสีใส ซึ่งมองทะลุผ่านได้ 
นอกจากนั้น ยังมีเลขไทย 50 ดุนนูน ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของธนบัตร

ธนบัตรเลขหายาก

1800000

8444000

7007707

0009000

9 หน้า 9 หลัง หมวด D

9 หน้า 9 หลัง หมวด F

9 หน้า 9 หลัง หมวด C D E F

9 หน้า 9 หลัง หมวด A B C D

0444444